วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บุคลิกภาพและการพัฒนาบุคลิกภาพในการทำงาน

บทนำ
     ในการทำงานของทุกหน่วยงานยอมจะต้องการบุคลากรที่มีบุคลิกลักษณะดีมีความพร้อมในหลายๆด้านเข้าทำงาน เพื่อให้เป็นที่ประทับใจแก่ผู้เข้ามาติดต่องานในหน่อยงานนั้น สร้างความพึ่งพอใจแก่ผู้มาใช้บริการ เมื่อรู้อย่างนี้แล้วทุกคนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาตนเองทั้งบุคลิกภาพนอกที่เป็นร่างกายของเรา ให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐานของคนไทย เพื่อให้เป็นทีต้องการของหน่วยงานต่างๆ ส่วนด้านจิตใจอันเป็นบุคลิกภาพในก็สามารถพัฒนาได้เช่นเดียวกัน เพราะสิ่งสำคัญที่ทุกหน่วยงานมีความปราถนาเหมือนกันหมดก็คือ ต้องการที่จะรับพนักงานในการเข้าทำงานจากบุคคลที่มีความรู้ มีความเพียบพร้อมทั้งรูปร่าง หน้าตา และจิตใจที่ดีงานเข้าทำงาน

1.  บุคลิกภาพและการพัฒนาบุคลิกภาพในการทำงาน
       ในการเรียนวิชาจริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์ ซึ่งในเนื้อหาวิชา ผู้เรียนจะได้เรียนเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตัวในการทำงานทางด้านวิชาชีพคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาใช้กับงานสำนักงาน ในหน่วยงานต่างๆ แล้ว ผู้เรียนยังจะได้เรียนเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพด้วย เพราะบุคลิกภาพก็มีส่วนช่วยส่งเสริมการทำงานในสำนักงานด้วย เพราะสถานประกอบการใดๆก็ตาม เมื่อมีความต้องการที่จะรับสมัครพนักงานเข้าทำงานในสำนักงานแล้ว นอกจากจะต้องการผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานทางด้านคอมพิวเตอร์ในสำนักงานได้แล้ว ยังต้องการพนักงานที่มีบุคลิกภาพที่ดีสำหรับการทำงานในสำนักงานด้วย เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมการปฏิบัติงาน และสร้างคงวามสัมพันะที่ดีกับผู้ปฏิบัติงานอื่นๆและสร้างการบริการแก่ผู้มาติดต่องาน

2.  ความหมายของบุคลิกภาพ
       บุคลิกภาพ ( Personality ) หมายถึง บุคลิกลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ซึ่งจะประกอบไปด้วยรูปร่างหน้าตา ลักษณะนิสัย อารมณ์ ความสนใจ ความสามารถ ตลอดจนความมีมนุษย์สัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง
       บุคลิกภาพจะประกอบไปด้วยลักษณะภายนอกและภายในของแต่ละบุคคล ทำให้บุคคลแต่ละคนนั้นมีสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจแตกต่างกันออกไป

     -  ลักษณะภายนอก ถือเป็นรูปธรรม หมายถึงรูปร่างหน้าตาของแต่ละบุคคลที่เป็นมาแต่กำเนิด เช่น มีรูปร่างหน้าตา รูปหล่อ หน้าตาสวยงาม บางคนเกิดมาหน้าตาน่ากลัว ขี้ริ้วขี้เหร่บางคนไม่สมประกอบ มีบางส่วนของร่างกายพิการ มีความสูงต่ำ ดำขาว อ้วนผอม ไม่เท่ากัน สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาบุคลิกเป็นอย่างมาก บางคนที่เกิดมาที่มีความเพียบพร้อมดีแล้วทางด้านร่างกาย ย่อมส่งผลดีทางด้านจิตใจอีกด้วย
      ลักษณะทางร่างกายที่ทุกคนชื่นชอบ
      1.  มีส่วนสูงและน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานของแต่ละชนชาติ
      2.  มีผิวพรรณสวยงามเหมาะสมตามธรรมชาติของชนชาตินั้นๆเช่น ชนชาติเอเชียและชาวยุโรป ซึ่งมีความแตกต่างกัน
      3.  ชาวเอเชียจะมีผมเป็นสีดำ ชาวยุโรปจะมีผมเป็นสีทอง ทั้งนี้ขึ้นยุกับภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมของแต่ละทวีป
      4.  ความเข้มแข็งของสุภาพบุรุษและความนุ่มนวลของสุภาพสตรีในแต่ละชนชาติ

     -  ลักษณะภายใน ถือเป็นนามธรรม หมายถึง ลักษณะภายในทางด้านจิตใจ ด้านอุปนิสัยใจคอ ลักษณะความรู้สึกนึกคิด ความร่าเริงแจ่มใส ความประพฤติและพฤติกรรมของแต่ละบุคคล

3.  การพัฒนาบุคลิกภาพ
       เนื่องจากบุคลิกภาพเป็นลักษณะของบุคคลโดยรวมของแตละบุคคล ซึ่งย่อมแตกต่างกันทั้งรูปร่างหน้าตา ด้านอารมณ์ สังคม สติปัญญา พฤติกรรม เพื่อการกระทำใดๆ ตลอดจนการแสดงกริยาอาการต่างๆ ซึ่งถือเป็นลักษณะนิสัยของแต่ละบุคคล ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับนับถือกับผู้ที่พบเห็น สำหรับการเสริมสร้างบุคลิกภาพให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลภายนอกก็จะเป็นผู้ที่ได้รับความสำเร็จในการดำรงตนอยู่ในสังคมรอบตัวเราอย่างมีความสุข ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ

4.  ประโยชน์ของการพัฒนาบุคลิกภาพ มีดังนี้
     1.  สร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงตลอดเวลา ด้วยการออกกำลังกาย
     2.  ทำให้ร่างกายมีบุคลิกภาพที่ดีคล่องแคล่วว่องไว และสง่าผ่าเผย
     3.  เป็นผู้ที่มีความร่าเริง จิตใจแจ่มใส อารมณ์ดี
     4.  มีกิริยามารยาท และพูดจาด้วยถ้อยคำที่สุภาพเป็นเสน่ห์กับผู้พบเห็น
     5.  เป็นผู้ที่มีเหตุผลไม่วู่วาม มีความสุขุมรอบคอบ มีสติ และควบคุมตัวเองได้
     6.  มีจิตใจที่เข้มแข็ง มีความอดทน ต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคได้
     7.  ยอมรับความเนจริงของโลกมนุษย์ ซึ่งประกอบไปด้วยสุขและทุกข์
     8.  มีความเชื่อมั่นในตัวเอง กล้าคิดกล้าทำ กล้าแสดงออก หรือกล้าตัดสินใจ โดยอาศัยหลักการและเหตุผล
     9.  มีความคิดใฝ่หาความก้าวหน้าในการทำงาน มีความคิดริเริ่มและมีความกตัญญูรือร้น มีน้ำใจและเอื้ออาทรผู้อื่น
    10.  ปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสังคม และสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และสามารถสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลรอบข้างได้อย่างมีความสุข

      การพัฒนาบุคลิกภาพในวิชาจริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนจะได้รับสิ่งดีๆ ตอบแทน ดังนี้
      1.  ได้รับการพิจารณาเข้าทำงานจากสถานประกอบการได้ง่ายกว่าบุคคลอื่น
      2.  สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองในการอยู่ร่วมกันในสังคม
      3.  สร้างบุคลิกและลักษณะนิสัยที่ดีแก่ผู้พบเห็น
      4.  มีความเข้าใจและยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต
      5.  สร้างความกระตือรือร้น และใฝ่ดีตลอดเวลา
      6.  มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
      7.  มีความสุขต่อการทำงานและในชีวิตประจำวัน
      8.  สร้างความเข้าใจกับบุคคลอื่น มีความโอบอ้อมอารี
      9.  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ด้วยหลักการและเหตุผล
     10.  สร้างความหวังและกำลังใจให้ตนเอง

        ปัจจุบันสุขภาพมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการทำงานของทุกคน รัฐบาลสมัย พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร จึงได้ประกาศนโยบายและเป้าหมาย "เมืองไทยแข็งแรง" โดยรัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขทั้งกาย ใจ สังคม และปัญญา สามารถดำรงชีพบนพื้นฐานความพอดีพอประมาณอย่างมีเหตุผล ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีความครัวที่อบอุ่น มั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และช่วยเหลือเกื้อกูล มีสัมมาอาชีพทั่วถึง มีรายได้ มีสุขภาพแข็งแรงและอายุยืนยาว เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีเป้าหมายร่วมกันในการนำพาทุกชุมชนของประเทศไทยสู่การเป็นเมืองไทยแข็งแรงภายในปีพุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 90 พรรษา จึงขอประกาศวาระแห่งชาติสู่การเป็น "เมืองไทยแข็งแรง" 17 เป้าหมาย คือ
       1.  คนไทยมีความฉลาดทางสติปัญญา (I.Q.) และความฉลาดทางอารมณ์ (E.Q.) เพิ่มมากขึ้นในระดับที่ต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากล
       2.  คนไทยที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อสุขภาพในทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล ทุกชุมชน ทุกหน่วยงานและสถานประกอบการ
       3.  คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาในระบบโรงเรียนไม่น้อยกว่า 12 ปี และโอกาสเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและเกิดทักษะทางสุขภาพ (Health Skill) และทักษะการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม (Like Skill)
       4.  คนไทยมีครอบครัวที่อบอุ่น เด็กและผู้สูงอายุได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว
       5.  คนไทยมีอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวขึ้นพร้อมสุขภาพที่แข็งแรง อัตราการป่วยและตายด้วยโรคที่เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของคนไทยลดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเอดส์ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคในช่องปาก และโรคเบาหวาน
       6.  คนไทยทุกคนมีหลักประกันการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ได้มาตราฐาน
       7.  คนไทยได้บริโภคอาหารให้มีความปลอดภัย
       8.  คนไทยลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ
       9.  คนไทยมีอัตราการฆ่าตัวตาย
      10. คนไทยมีอัตราการบาดเจ็บ
      11. คนไทยมีความปลอดภัยจากอาชญากรรม
      12. คนไทยมีสัมมาอาชีพและรายได้ที่เพียงพอ
      13. คนไทยมีที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ
      14. คนไทยลด ละ เลิกอบายมุขและสิ่งเสพติด
      15. คนไทยมีความรู้รักสามัคคี มีความอาทรเกื้อกูลกัน
      16. คนไทยมีสติและปัญญาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งรุนแรงต่างๆ
      17. คนไทยยึดมั่นในหลักศาสนาและวัฒนธรรมที่ดีงาน

อ้างอิง  จากหนังสือหมวดวิชาชีพจริยธรรมในอาชีพคอม หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2545  ผู้แต่ง  ทรงศักดิ์ แก้วอ่อน  กศ.บ. (ธุรกิจศึกษา)
    

ประวัติผู้จัดทำ

ชื่อ  นางสาวสุธิดา  จำปาแพง
ชื่อเล่น  น้อง
เกิดวันที่  20 ตุลาคม  2537
อายุ  16
กำลังศึกษาอยู่ที่วิทลัยอาชีวศึกษาเลย ระดับปวช.2
อาหารจานโปรด  กระเพราหมูกรอบ
สีที่ชอบ  สีชมพู่
งานอดิเรก  ทำงานบ้าน
ศิลปินในดวงใจ  พี่ป๊อปปี้  K-otic
E-mail  kittynaruk55@hotmail.com
คติประจำใจ  การยอมคนคือยอดคน
อนาคตอยากเป็น  ครู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น